วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

Etherner

ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbpsอัตราความเร็ว 100 Mbpsอัตราความเร็ว 1000 Mbpsอัตราความเร็ว 10 Gbpsบางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3uซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3abซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3aeซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้นETHERNETมาตรฐาน การเชื่อมต่ออัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูลระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูลTopology ที่ใช้สายที่ใช้ Cableชื่อเรียก10base210 Mbps185 - 200 เมตรBUSThin CoaxialThin Ethernet หรือ Cheapernet10base510 Mbps500 เมตรThick CoaxialThick Ethernet10baseT10 Mbps100 เมตรSTARTwisted Pair (UTP)10baseF10 Mbps2000 เมตรFiberOptic100baseT100 Mbps......... เมตรTwisted Pair (UTP)Fast Ethernet

Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD) เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้

อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10 Base-T คะ โดยปกติสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ


แบบทดสอบ

1.ระบบเครือข่าย1000 BaseCXความเร็ว 1,000 Mbpsระยะทาง 25 เมตรโคแอ็กเชียล 150 โฮห์มสายสัญญาณ เป็น โครงสร้างการเชื่อมต่อแบบใด
ก. แบบbus
ข.แบบstar
ค.แบบring
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก เป็นการเชื่อมต่อแบบbus
แหล่งที่มา จากตาราง IEEE802.3z http://www.arpt.moe.go.th/ebook/datacom/unit4/DATA4_5.htm


2.มาตราฐาน IEEE802.3u 100 Base TXใช้สาย สัญญาณแบบใด
ก.UTP Category3หรือ4 โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่
ข.UTP Category3หรือ4โดยใช้คู่สายภายในทั้ง 4คู่
ค.UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่านั้น
ง. ใช้สายFiber oplie
เฉลย ค UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่านั้น

แหล่งที่มา http://www.paktho.ac.th/computerptk/introcom/FastEthernet.htm

3.Ethernet ( IEEE802.3 )ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบใด
ก. CSMA/UTP
ข.RSMA
ค. CSMA
ง. CSMA/CD
เฉลย ง. CSMA/CD ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CDที่มีความเร็ว 10Mbps หรือ 100 Mbps Fast Ethernet ( IEEE802.3u ) อาร์แวร์ที่ใช้จะต้องรองรับแบบใด แบบหนึ่ง หรือทั้งสองแบบ

จากเว็บ http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/Network2/6.htm


4.ดาต้าลิงค์เลเยอร์IEEE ได้แบ่งชั้นเชื่อมโยงข้อมูลหรือดาต้าลิงค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ออกเป็น กี่ เลเยอร์ย่อย
ก.1เลเยอร์ย่อย
ข.2เลเยอร์ย่อย
ค.5เลเยอร์ย่อย
ง.7เลเยอร์ย่อย
เฉลย ข.2 IEEE ได้แบ่งชั้นเชื่อมโยงข้อมูลหรือดาต้าลิงค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ออกเป็น 2 เลเยอร์ย่อย คือ LLC (Logical Link Control) และ MAC (Media Access Control) ทั้งสองเลเยอร์ย่อยนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของอีเธอร์เน็ต เนื่องจากเป็นเลเยอร์ที่สร้างเฟรมข้อมูลและที่อยู่ (Addressing) และชั้นที่ทำให้ข้อมูลส่งถึงปลายทางอย่างถูกต้อง


5.ข้อใดคือประโยชน์ของกิกะบิตอีเธอร์เนต
ก.ประสิทธิภาพในการใช้เครือข่ายเพิ่มมากขึ้นทำให้การส่งผ่านข้อมูลข้ามจากเซกเมนต์หนึ่งไปยังเซกเมนต์หนึ่งด้วยความเร็วสูงเพื่อตอบสนองการใช้งาน
ข.โอกาสในการขยายตัวของระบบเครือข่ายทำให้รองรับอนาคตได้อีกยาวไกล
ค.คุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาว
ง.ถูกทุข้อเฉลย

เฉลย ง.ถูกทุกข้อ


6.หลักการพื้นฐานที่สำคัญของ Gigabit Ethernet (IEEE802.3z) คืออะไร
ก.การปรับแก้ส่วนของ (Physycal Layer)
ข.การปรับแก้ส่วนของ (Network Layer)
ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)
ง.การปรับแก้ส่วน (data ling Layer)
เฉลย ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)
โดยกลไกที่เรียกว่า Carrier Extension โดยกลไกตัวนี้จะทำการเพิ่มความยาวของเฟรมที่มีขนาดน้อยกว่า 512 ไบต์ โดยจะทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปยังส่วนท้ายของเฟรมเพื่อให้เฟรมข้อมูลนั้นมีขนาดเท่ากับ 512 ไบต์ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องมาจากว่าใน Ethernet แบบแรกที่ความเร็ว 10Mbps (IEEE802.3) นั้นได้มีการกำหนดออกแบบเอาไว้

จากเว็บ http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/gigabit/index.html

7. Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบใด
ก.แบบ lan
ข.แบบ man
ค.แบบ star
ง.แบบ wan
เฉลย ก.แบบ lan Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub



Topology

รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน


5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก


แบบทดสอบ


1.Topology หมายถึงอะไร
1.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์
2.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายใน LAN
3.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในอิเล็กทรอนิกส์
4.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ ภายในเครือข่าย
เฉลย คำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง

2.topology แบบใดที่ใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลย คำถาม ข้อ 1. ถูกต้อง อธิบาย
star topology
ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์(Server)ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นและอุปกรณ์ที่เหลือ

3. topology แบบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลย คำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone)

4. topology แบบใดที่สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลย คำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง

5.โทโปโลยีแบบ Hybrid เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใดเข้าด้วยกัน STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน
1.star topology ring topology
2.star topology bus topology
3.ring topology mesh topology
4.star topology ring topology bus topology
เฉลย คำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน

คำศัพท์และแบบทดสอบ (งานที่ 1)

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับระบบการสื่อสาร

1. Metropolitan Area Network : MAN เครือข่ายระดับเมือง
2. Telephone โทรศัพท์
3. Tetex โทรพิมพ์
4. Television โทรทัศน์
5. Radio วิทยุกระจายเสียง
6. Microwave ไมโครเวฟ
7. Satellite ดาวเทียม
8. Delivery การส่งมอบ
9. Accuracy ความถูกต้องแน่นอน
10. Timeliness ระยะเวลา
11. Message ข้อมูลข่าวสาร
12. Sender/source ผู้ส่งข้อมูล
13. Receiver/destination ผู้รับข้อมูล
14. Protocol โปรโตคอล
15. Analog signal สัญญาณแอนะล็อก
16. Digital signal สัญญาณดิจิตอล
17. Local Area Network : LAN เครือข่ายท้องถิ่น
18. Telegraphy โทรเลข
19. Wide Area Network : WAN เครือข่ายระดับประเทศ
20. Basic configuration การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย
21. Wireless telephone configuration โทรศัพท์ไรสาย
22. Local การสื่อสารบนพื้นที่เดียวกัน
23. Remode การสื่อสารระยะไกล
24. Data rate อัตราข้อมูล
25. Line configuration การเชื่อมต่อ
26. Transmission Mode ทิศทางการส่งผ่านข้อมูล
27. Framing เฟรมข้อมูล
28. Routing การเลือกเส้นทาง
29. tramission medium ตัวกลางในการส่งข้อมูล
30. Connection Release การยกเลิกการติดต่อ

แบบทดสอบ

1.ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเครือข่าย (Network Computer)
1.เครื่องศูนย์บริการข้อมูล (Servers)
2.การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card)
3.ฮับและสวิตซ์ (Hubs and Switches)
4.เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 4 อธิบาย
เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ในการดูดซับสัญญาณมิให้สัญญาณที่วิ่งมายังปลายสายทั้งสองผั่งเกิดการสะท้อนกลับ (Reflection)

2.รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology) มีอยู่กี่รูปแบบ
1. 1รูปแบบ
2. 2รูปแบบ
3. 3รูปแบบ
4. 4รูปแบบ
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology) มีอยู่ทั้งหมดด้วยกันคือ 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1)การเชื่อมต่อแบบบัส
2)การเชื่อมต่อแบบดาว
3) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

3.หน่วยข้อมูลลำดับชั้นเน็ตเวิร์ก(Network)เรียกว่าอะไร
1.แพ็กเก็ต (packet)
2.แครช (crash)
3.เร้าเตอร์ (router)
4.แพ็กกิง (packing)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 1 อธิบาย
หน่วยข้อมูลบนลำดับชั้นเน็ตเวิร์กนี้จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า “แพ็กเก็ต (packet)”


4.ลำดับชั้นของแบบจำลอง OSI ประกอบกี่ลำดับชั้น
1.4 ลำดับชั้น
2.5 ลำดับชั้น
3.6 ลำดับชั้น
4.7 ลำดับชั้น
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 4 อธิบาย
แบบจำลอง OSI กรอบการทำงานเป็นลำดับชั้นหรือ รียกว่า “เลเยอร์ (Layer) แต่ละลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันโดยแบบจำลอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้น

5.แบบจำลอง OSI สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
1.เพื่อให้ระบบต่างๆสามารถสนับสนุนกันได้
2.เพื่อให้ระบบต่างๆสามารถสื่อสารกันได้
3.เพื่อให้ระบบต่างๆทำงานด้วยกันได้
4.ถูกเฉพาะข้อ 1 ,2
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 2 อธิบาย
มาตรฐานแบบจำลอง OSI นี้จัดทำขึ้นมานั้นก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล


6.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
1.ข้อมูลข่าวสาร
2.ผู้ส่งข้อมูล
3.โปรโตคอล
4.เร้าเตอร์
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
เร้าเตอร์ (Router)เป็นอุปกรณ์สำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้สำหรับกำหนดเส้นทางบนเครือข่าย


7.ปัจจุบันได้แบ่งประเภทของเครือข่ายไว้กี่ประเภท
1. 3ประเภท
2. 4ประเภท
3. 5ประเภท
4. 6ประเภท
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
ประเภทของเครือข่ายพื้นฐานแบ่งเป็น 3 ประเภท
1.เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
2.เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
3.เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)


8.ระบบสื่อสารแบบจุดต่อจุดต้อง มีคุณสมบัติกี่ประการ
1. 1ประการ
2. 2ประการ
3. 3ประการ
4. 4ประการ
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
การเชื่อมต่อด้วยวิธีการสื่อสารแบบจุดต่อจุด มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ
1.แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
2.มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
3.มีความปลอดภัย


9.การ์ดเครือข่ายที่ใช้งานบนเครือข่ายแลนแบบอีเทอร์เน็ตเรียกอีกอย่างว่าอะไร
1.อีเทอร์เน็ตการ์ด (Ethernel Card)
2.อินเทอร์เฟชการ์ด (Interface Card)
3.การ์ดแลน (LAN Card)
4.การ์ดไวร์เลส (Wireless Card)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 1 อธิบาย
การ์ดเครือข่ายที่ใช้บนเครือข่ายและแบบอีเทอร์เน็ต มักเรียกว่า อีเทอร์เน็ตการ์ด (Ethernel Card)

10.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
1. บริดจ์ (Bridye)
2.สวิตซ์ (Switch)
3.เร้าเตอร์ (Router)
4.ฮับ (Hub)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 4 อธิบาย
ฮับ (Hub) จะทำหน้าที่ในการรับข้อมูลจากผู้ส่งเมื่อส่งไปยังปลายทางที่ต้องการ



วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)

=> ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (Computer Network )
....หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้

.....ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ
1. LAN (Local Area Network)
..... แลน หรือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายในพื้นที่ (Local Area Network, LAN) เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 2 รูปแบบการเชื่อโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 5 รูปแบบ คือ
....1. ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที
....2.แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

....3.แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
....4.แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน
....5.เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN)
......อีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย

ประโยชน์ของ Lan
1.1 แบ่งการใช้ข้อมูล รวมทั้งการปรับปรุงและจัดการแฟ้มข้อมูลได้ง่าย
1.2 สามารถใช้ข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
1.3 การแบ่งปันการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น Printer, Modemฯลฯ
1.4 การแบ่งปันการใช้โปรแกรมต่าง
1.5 ควบคุมและดูแลรักษาข้อมูลได้ง่าย
1.6 ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
1.7 เพื่อการติดต่อได้อย่างรวดเร็ว

2. MAN (Metropolitan Area Network)
.....ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก

3. WAN (Wide Area Network)
.....ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)

แหล่งศึกษา

1.http://www.radompon.com/computerproject/Web2006/Network/mainpage.htm
2.http://www.bcoms.net/network/intro.asp
3.http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ngekky&month=01-2008&date=20&group=1&gblog=33

แบบทดสอบ

1. โครงสร้างของระบบเครือข่ายทั้งหมดมีกี่แบบ

a. 2 แบบ

b. 3 แบบ

c. 4แบบ

d. 5แบบ

3.ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปมีกี่แบบ อะไรบ้าง

a. 3 แบบ LAN ,MAN ,NAN

b. 3 แบบ WAN ,LAN ,MAN

c. 3 แบบ LAN ,MAN,CAN

c.ไม่มีข้อถูก

3.Local Area Network (LAN) เป็นการเชื่อมแบบใดต่อไปนี้

ก.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก ในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก

ข.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN

ค.เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าแบบ MAN

IP Address

=>หมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address)
....คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
=>มาตรฐานของ IP Address
....ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address
....บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card

..ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236
......ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอดเดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม
(Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.org

=>ไอพีเวอร์ชัน 4
......ระบบตัวเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ ไอพีเวอร์ชันที่ 4 (IPv4) ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 (ตัวเลขบางตัวเป็นไอพีสงวนไว้สำหรับหน้าที่เฉพาะเช่น 127.0.0.0 จะเป็นการระบุถึงตัวอุปกรณ์เองไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีไอพีสื่อสารจริงๆ เป็นเท่าไร) อย่างไรก็ตามจากระบบตัวเลขที่จำกัดนี้สามารถเพิ่มขยายด้วยเทคนิคของไอพีส่วนตัว (private IP) กับการแปลงไอพี (Network Address Translation หรือ NAT) 684

=> คลาส
..ไอพีเวอร์ชัน 4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆเพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานต่างๆกันดังต่อไปนี้
.....- คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 126.255.255.254
.....- คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
.....- คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
.....- คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
.....- คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
...........สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ


=> ไอพีส่วนตัว (Private IP)
....ไอพีส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ไม่ว่าองค์กรนั้นจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใดก็ตาม
ได้แก่ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไปไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไปไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไปไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้

=> ไอพีสาธารณะ (Public IP)
.... ไอพีสาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร แต่ละบุคคล ต่างก็สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน รับส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านเครือข่ายสาธารณะได้

=>การแปลงไอพี (NAT)
....เนื่องจากเมื่อแต่ละองค์กร แต่ละบุคคล ต่างก็ใช้งานไอพีส่วนตัวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถติดต่อกับเครือข่ายสาธารณะ (Internet) ได้ จึงทำให้องค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการแปลงไอพี เพื่อช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะได้ นอกจากนี้ไอพีสาธารณะเองก็มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เมื่อแต่ละองค์กร แต่ละบุคคลต้องการที่จะเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายสาธารณะจะทำให้เกิดปัญหาไอพีสาธารณะไม่พอเพียงต่อการใช้งาน ดังนั้นเพื่อให้เกิดการใช้งานไอพีสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการแปลงไอพีส่วนตัวของแต่ละองค์กรให้สามารถแบ่งปันกันใช้งานไอพีสาธารณะที่มีอยู่อย่างจำกัด (Overloaded NAT) ในแง่ของความปลอดภัย การแปลงไอพีสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายได้ เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครือข่ายสาธารณะทั้งหลาย จะไม่สามารถรู้จักไอพีที่แท้จริงของคอมพิวเตอร์ในองค์กร ทำให้ความเสี่ยงที่คอมพิวเตอร์ภายในองค์กรจะถูกโจมตีในแง่ต่างๆลดลงไปด้วย

=>ไอพีเวอร์ชัน 6
....ไอพีเวอร์ชันที่ 6 (IPv6) ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลยไอพี

=>ชื่อและเลข IP
...อินเตอร์เน็ตมีคอมพิวเตอร์ต่ออยู่เป็นล้านเครื่อง หลายท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่าการที่เราส่งอีเมล์ไปยังปลายทางจะไปได้อย่างไร หรือเมื่อเราต้องการ LOGIN เข้าเครื่องอื่นที่อยู่บนเครือข่าย ระบบเครือข่ายรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นอยู่ที่ใด

=> รหัสหมายเลข IP ประจำเครื่อง

...คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องหมายเลขรหัสนี้เรียกว่า IP number ตัวเลข IP แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกันตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์กรนำไปปฎิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องทำการขอหมายเลขประจำเครือข่าย เพื่อมากำหนดส่วนขยายต่อสำหรับเครื่องเอาเอง
...เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ SUN ที่ทำหน้าที่เป็นเกทเวย์สำหรับเมล์ของเครือข่ายนนทรี ชื่อ nontri มีหมายเลข IP เป็นตัวเลขประจำเครื่องนี้มีขนาด 32 บิต แบ่งเป็น 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต แต่เมื่อเรียกรหัสหมายเลข IP นี้ ใช้ตัวเลขฐานสิบแบ่งเป็น 4 ตัว โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวดังนั้นจากตัวเลข 32 บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น158.108.2.71
...ตัวเลขไบนารี 32 หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยากแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกตัอง แต่เมื่อกำหนดเลข 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์มีขนาด 0-255 เมื่อดูแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น

=>เครือข่ายก็มีหลายเลขประจำด้วย
....การแบ่งเลขหมาย IP ออกเป็น 4 ฟิลด์นั้น ความจริงแล้วตัวเลขที่ประกอบอยู่นั้นเป็นตัวเลขของเครือข่ายประกอบอยู่ด้วย
เช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 เครือข่ายของบริษัท IBM ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลก ใช้รหัส 9 ส่วนของบริษัท AT+ T ใช้เลขรหัส IP เป็น 12 ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 192.150.249 เป็นต้น
....เนื่องจากขนาดของเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดการแบ่งคลาสของเครือข่ายออกเป็นสามคลาสคือ คลาส A. คลาส B. คลาส C.
......- คลาส A. กำหนดตัวเลขเพียงฟิลด์แรกฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องอยู่ในเครือข่าย
......- คลาส B. กำหนดตัวเลขของฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่องสองฟิลด์
......- คลาส C. กำหนดตัวเลขสามฟิลด์จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว
....เมื่อพิจารณาตัวเลข IP ใด ๆ หากตัวเลขขึ้นต้นระหว่าง 1-126 ก็จะเป็นคลาส A. ถ้าขึ้นต้นด้วย 128-191
ก็จะเป็นคลาส B. และขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C.
....การให้หมายเลขเครือข่ายนี้ทางองค์กรบริหารเครือข่ายเป็นผู้กำหนดให้เป็นที่น่าสังเกตุว่า การกำหนดเลขจะกำหนดให้เรียงกันไป ใครขอมาก่อนก็จะให้เลขน้อยเรียงตามลำดับเวลาที่จอและเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะ หมายเลข IP คงจะเต็มพิกัดครบทุกคราสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่าก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว

=>ใช้ชื่อดีกว่า
...เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่นแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่น nontri.ku.ac.th ซึ่งแทนหมายเลข 158.108.162 หรือเครื่อง maspar ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบขนานก็ใช้ชื่อ maspar.cpe.ku.ac.th โดยใช้แทนรหัส 158.108.162 ดังนั้นเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีการตั้งชื่อเครื่องเพื่อให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อมีการแบ่งเป็นลำดับขั้น ตัวที่อยู่ขวามือสุด คือชื่อย่อประเทศ เช่น th หมายถึงประเทศไทย เป็นต้น

=> หมายเลขต้องห้าม

...เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่
1. Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
2. Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
3. Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
...สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน ได้แก่
1. 127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง
2. 0.0.0.0


ที่มา

1.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/ip/
2.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B5
3.http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=94&Itemid=46
4.http://www.it-guides.com/nets/net_104.html



วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

Windows Server 2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)
=>เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System
ภาพรวม
=>วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงานในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้:
-Windows Small Business Server 2003
-Windows Server 2003 Web Edition
-Windows Server 2003 Standard Edition
-Windows Server 2003 Enterprise Edition
-Windows Server 2003 Datacenter Edition
-Windows Compute Cluster Server 2003

UBUNTU

อูบุนตู (Ubuntu)
=>(สัท.: ùbúntú หรือ uːˈbunːtuː [3]) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 8.10 รหัส Intrepid Ibex นั้น มูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

ความสามารถ
=>สำคัญนักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่จะใช้ KDE กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ Xubuntu สำหรับ XFCE และตัว Shuttleworth เองยังประกาศโครงการ Gnubuntu ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด ตามอุดมคติของริชาร์ด สตอลแมน และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็นลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วยUbuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ Mac OS Xรองรับการทำงานกับทั้ง CPU ชนิด 32bit และชนิด 64bitรูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD ที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดี ให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริงทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจากทุกประเทศสามารถขอรับซีดี Ubuntu ได้ฟรี (ทาง Ubuntu จะเป็นฝ่ายเสียค่าจัดส่งให้ทางไปรษณีย์) ใต้ชื่อโครงการ Ubuntu Shipit โครงการนี้ยังแบ่งย่อยเป็น Kubuntu Shipit, Xubuntu Shipit และ Edubuntu Shipit ด้วยส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบLinux TLE ซึ่งเป็น Linux พัฒนาโดยคนไทยตั้งแต่ version 8.0 ก็ใช้ Ubuntu เป็นฐานในการพัฒนา

ประวัติและลำดับการพัฒนา
=> Ubuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntuส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆUbuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนาUbuntuหลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของDebianอยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟแวร์แบบสาธารณะแล้วปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลงในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี

ผู้สนับสนุน
=> เดลล์ ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 บริษัทDell ได้ประกาศว่าจะขายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน็ตบุ๊คที่ได้ติดตั้ง Ubuntu ไปด้วย และในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในสหรัฐ. พวกเขาได้เริ่มให้บริการลูกค้าในการใช้งาน Ubuntu ผ่านทางบริษัทDell, ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท Canonical ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในอังกฤษ, ฝรั่งเศสและเยอรมันซึ่งเป็นไปด้วยดี ถ้าเลือกใช้เครื่อง DELL ในขณะนี้ก็จะมี ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 7.10 กับ โปรแกรมLinDVD ไว้ดูหนังดีวีดีTesco ในเดือนตุลาคม บริษัทTesco ได้ตามมาแนวเดียวกับบริษัทDell โดยเริ่มขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการUbuntu 6.06 LTS แต่ก็มีส่วนที่ไม่เหมือนกับ Dell ที่ไม่ได้ให้บริษัทCanonical เป็นคนสนับสนุนช่วยเหลือSystem76 ตั้งแต่เริ่มแรกมาในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 โดย System76 เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนันสนุนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ,โน้ตบุ๊ก และ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

การนำเอาซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์มาใช้
=>Ubuntu มีการรับรองระบบเพื่ออยู่ในสมาคม third party software Ubuntuได้รับรองการเป็นเจ้าของซอฟแวร์ที่ทำงานได้ใน Ubuntu อย่างไรก็ตามหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้คุ้นเคยของระบบปฏิบัติการที่ไม่ฟรี เช่น Microsoft Windows นั้นเข้ากันไม่ได้และไม่ได้ถูกรับรองจาก Ubuntu แต่ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์บางตัวนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการแจกจ่ายก็ได้มีการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Ubuntu เช่นกัน ซอฟแวร์บางตัวที่ไม่ได้รวมอยู่ด้วยใน Ubuntu :ซอฟแวร์ที่เปิดการทำงาน region-locked และวิดีโอ DVDs, ทั้งสองน่าจะได้รับอนุญาตให้ใช้งาน จึงใช้ libraryถอดรหัส DVD ของ Libdvdcss ซึ่งเป็น open-source ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับ Ubuntu และ Medibuntu.ปลั๊กอินของเว็บเบราว์เซอร์บางตัวก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างเช่น Adobe's (formerly Macromedia's) Shockwave (ที่ไม่ใช่เวอร์ชันของLinux) และ Flash

ระบบที่ต้องการ
=>ในที่สุดเวอร์ชันที่ผ่านของ Ubuntu นั้นสนับสนุนสถาปัตยกรรม Intel x86 และ AMD64 ของเครื่องเดสท็อปที่มีออกมา และ สถาปัตยกรรม Intel x86, AMD64 และ SPARC ของเครื่องแม่ข่าย แต่ก็ยังไม่สนับสนุนสถาปัตยกรรมของ PowerPC (ในเวอร์ชัน7.04 นั้นก็ยังพอที่จะสนับสนุนสถาปัตยกรรมPowerPC ) , IA-64 (Itanium) และ เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation 3 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบที่แนะนำก็ยังพอมี Xubuntu,ที่มีพื้นฐานมาจาก Xfce,ที่ต้องการ หน่วยความจำหลัก และพื้นที่ว่างเพียงครึ่งเดียวที่แนะนำ

Server Edition
=>เครื่องที่เก่ามากๆก็เป็นไปได้ที่จะลงระบบปฏิบัติการนี้ได้ (เช่น 75 MHz Pentium หน่วยความ จำหลัก 32 MB) ,
ระบบขั้นต่ำที่แนะนำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:
-ไมโครโปรเซสเซอร์ 300 MHz สถาปัตยกรรมx86
-หน่วยความจำหลัก 64 MB
-พื้นที่ Harddisk 500 MB
-การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640×480 pixel
-ไดร์ฟ CD-ROM

Desktop Edition
สำหรับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสท็อปนั้นมีการแนะนำระบบขั้นต่ำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:
-ไมโครโปรเซสเซอร์ 500 MHz สถาปัตยกรรมx86
-หน่วยความจำหลัก 192 MB
-พื้นที่ Harddisk 8 GB (ในการติดตั้งจริงต้องการ 4 GB )
-การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 1024×768 pixel
-การ์ดประมวลผลทางเสียง (ถ้ามี)
-การ์ดเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก