วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

Etherner

ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbpsอัตราความเร็ว 100 Mbpsอัตราความเร็ว 1000 Mbpsอัตราความเร็ว 10 Gbpsบางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3uซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3abซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3aeซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้นETHERNETมาตรฐาน การเชื่อมต่ออัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูลระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูลTopology ที่ใช้สายที่ใช้ Cableชื่อเรียก10base210 Mbps185 - 200 เมตรBUSThin CoaxialThin Ethernet หรือ Cheapernet10base510 Mbps500 เมตรThick CoaxialThick Ethernet10baseT10 Mbps100 เมตรSTARTwisted Pair (UTP)10baseF10 Mbps2000 เมตรFiberOptic100baseT100 Mbps......... เมตรTwisted Pair (UTP)Fast Ethernet

Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD) เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้

อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10 Base-T คะ โดยปกติสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ


แบบทดสอบ

1.ระบบเครือข่าย1000 BaseCXความเร็ว 1,000 Mbpsระยะทาง 25 เมตรโคแอ็กเชียล 150 โฮห์มสายสัญญาณ เป็น โครงสร้างการเชื่อมต่อแบบใด
ก. แบบbus
ข.แบบstar
ค.แบบring
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก เป็นการเชื่อมต่อแบบbus
แหล่งที่มา จากตาราง IEEE802.3z http://www.arpt.moe.go.th/ebook/datacom/unit4/DATA4_5.htm


2.มาตราฐาน IEEE802.3u 100 Base TXใช้สาย สัญญาณแบบใด
ก.UTP Category3หรือ4 โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่
ข.UTP Category3หรือ4โดยใช้คู่สายภายในทั้ง 4คู่
ค.UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่านั้น
ง. ใช้สายFiber oplie
เฉลย ค UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่านั้น

แหล่งที่มา http://www.paktho.ac.th/computerptk/introcom/FastEthernet.htm

3.Ethernet ( IEEE802.3 )ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบใด
ก. CSMA/UTP
ข.RSMA
ค. CSMA
ง. CSMA/CD
เฉลย ง. CSMA/CD ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CDที่มีความเร็ว 10Mbps หรือ 100 Mbps Fast Ethernet ( IEEE802.3u ) อาร์แวร์ที่ใช้จะต้องรองรับแบบใด แบบหนึ่ง หรือทั้งสองแบบ

จากเว็บ http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/Network2/6.htm


4.ดาต้าลิงค์เลเยอร์IEEE ได้แบ่งชั้นเชื่อมโยงข้อมูลหรือดาต้าลิงค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ออกเป็น กี่ เลเยอร์ย่อย
ก.1เลเยอร์ย่อย
ข.2เลเยอร์ย่อย
ค.5เลเยอร์ย่อย
ง.7เลเยอร์ย่อย
เฉลย ข.2 IEEE ได้แบ่งชั้นเชื่อมโยงข้อมูลหรือดาต้าลิงค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ออกเป็น 2 เลเยอร์ย่อย คือ LLC (Logical Link Control) และ MAC (Media Access Control) ทั้งสองเลเยอร์ย่อยนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของอีเธอร์เน็ต เนื่องจากเป็นเลเยอร์ที่สร้างเฟรมข้อมูลและที่อยู่ (Addressing) และชั้นที่ทำให้ข้อมูลส่งถึงปลายทางอย่างถูกต้อง


5.ข้อใดคือประโยชน์ของกิกะบิตอีเธอร์เนต
ก.ประสิทธิภาพในการใช้เครือข่ายเพิ่มมากขึ้นทำให้การส่งผ่านข้อมูลข้ามจากเซกเมนต์หนึ่งไปยังเซกเมนต์หนึ่งด้วยความเร็วสูงเพื่อตอบสนองการใช้งาน
ข.โอกาสในการขยายตัวของระบบเครือข่ายทำให้รองรับอนาคตได้อีกยาวไกล
ค.คุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาว
ง.ถูกทุข้อเฉลย

เฉลย ง.ถูกทุกข้อ


6.หลักการพื้นฐานที่สำคัญของ Gigabit Ethernet (IEEE802.3z) คืออะไร
ก.การปรับแก้ส่วนของ (Physycal Layer)
ข.การปรับแก้ส่วนของ (Network Layer)
ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)
ง.การปรับแก้ส่วน (data ling Layer)
เฉลย ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)
โดยกลไกที่เรียกว่า Carrier Extension โดยกลไกตัวนี้จะทำการเพิ่มความยาวของเฟรมที่มีขนาดน้อยกว่า 512 ไบต์ โดยจะทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปยังส่วนท้ายของเฟรมเพื่อให้เฟรมข้อมูลนั้นมีขนาดเท่ากับ 512 ไบต์ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องมาจากว่าใน Ethernet แบบแรกที่ความเร็ว 10Mbps (IEEE802.3) นั้นได้มีการกำหนดออกแบบเอาไว้

จากเว็บ http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/gigabit/index.html

7. Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบใด
ก.แบบ lan
ข.แบบ man
ค.แบบ star
ง.แบบ wan
เฉลย ก.แบบ lan Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub



Topology

รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน


5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก


แบบทดสอบ


1.Topology หมายถึงอะไร
1.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์
2.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายใน LAN
3.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ภายในอิเล็กทรอนิกส์
4.การเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ ภายในเครือข่าย
เฉลย คำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง

2.topology แบบใดที่ใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลย คำถาม ข้อ 1. ถูกต้อง อธิบาย
star topology
ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์(Server)ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นและอุปกรณ์ที่เหลือ

3. topology แบบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลย คำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone)

4. topology แบบใดที่สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด
1.star topology
2.ring topology
3.bus topology
4.mesh topology
เฉลย คำถาม ข้อ 4. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง

5.โทโปโลยีแบบ Hybrid เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใดเข้าด้วยกัน STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน
1.star topology ring topology
2.star topology bus topology
3.ring topology mesh topology
4.star topology ring topology bus topology
เฉลย คำถาม ข้อ 3. ถูกต้อง อธิบาย
โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน

คำศัพท์และแบบทดสอบ (งานที่ 1)

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับระบบการสื่อสาร

1. Metropolitan Area Network : MAN เครือข่ายระดับเมือง
2. Telephone โทรศัพท์
3. Tetex โทรพิมพ์
4. Television โทรทัศน์
5. Radio วิทยุกระจายเสียง
6. Microwave ไมโครเวฟ
7. Satellite ดาวเทียม
8. Delivery การส่งมอบ
9. Accuracy ความถูกต้องแน่นอน
10. Timeliness ระยะเวลา
11. Message ข้อมูลข่าวสาร
12. Sender/source ผู้ส่งข้อมูล
13. Receiver/destination ผู้รับข้อมูล
14. Protocol โปรโตคอล
15. Analog signal สัญญาณแอนะล็อก
16. Digital signal สัญญาณดิจิตอล
17. Local Area Network : LAN เครือข่ายท้องถิ่น
18. Telegraphy โทรเลข
19. Wide Area Network : WAN เครือข่ายระดับประเทศ
20. Basic configuration การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย
21. Wireless telephone configuration โทรศัพท์ไรสาย
22. Local การสื่อสารบนพื้นที่เดียวกัน
23. Remode การสื่อสารระยะไกล
24. Data rate อัตราข้อมูล
25. Line configuration การเชื่อมต่อ
26. Transmission Mode ทิศทางการส่งผ่านข้อมูล
27. Framing เฟรมข้อมูล
28. Routing การเลือกเส้นทาง
29. tramission medium ตัวกลางในการส่งข้อมูล
30. Connection Release การยกเลิกการติดต่อ

แบบทดสอบ

1.ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบของเครือข่าย (Network Computer)
1.เครื่องศูนย์บริการข้อมูล (Servers)
2.การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card)
3.ฮับและสวิตซ์ (Hubs and Switches)
4.เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 4 อธิบาย
เทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ในการดูดซับสัญญาณมิให้สัญญาณที่วิ่งมายังปลายสายทั้งสองผั่งเกิดการสะท้อนกลับ (Reflection)

2.รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology) มีอยู่กี่รูปแบบ
1. 1รูปแบบ
2. 2รูปแบบ
3. 3รูปแบบ
4. 4รูปแบบ
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology) มีอยู่ทั้งหมดด้วยกันคือ 3 รูปแบบด้วยกันคือ
1)การเชื่อมต่อแบบบัส
2)การเชื่อมต่อแบบดาว
3) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

3.หน่วยข้อมูลลำดับชั้นเน็ตเวิร์ก(Network)เรียกว่าอะไร
1.แพ็กเก็ต (packet)
2.แครช (crash)
3.เร้าเตอร์ (router)
4.แพ็กกิง (packing)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 1 อธิบาย
หน่วยข้อมูลบนลำดับชั้นเน็ตเวิร์กนี้จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า “แพ็กเก็ต (packet)”


4.ลำดับชั้นของแบบจำลอง OSI ประกอบกี่ลำดับชั้น
1.4 ลำดับชั้น
2.5 ลำดับชั้น
3.6 ลำดับชั้น
4.7 ลำดับชั้น
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 4 อธิบาย
แบบจำลอง OSI กรอบการทำงานเป็นลำดับชั้นหรือ รียกว่า “เลเยอร์ (Layer) แต่ละลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันโดยแบบจำลอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้น

5.แบบจำลอง OSI สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
1.เพื่อให้ระบบต่างๆสามารถสนับสนุนกันได้
2.เพื่อให้ระบบต่างๆสามารถสื่อสารกันได้
3.เพื่อให้ระบบต่างๆทำงานด้วยกันได้
4.ถูกเฉพาะข้อ 1 ,2
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 2 อธิบาย
มาตรฐานแบบจำลอง OSI นี้จัดทำขึ้นมานั้นก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรฐานการสื่อสารที่เป็นสากล


6.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล
1.ข้อมูลข่าวสาร
2.ผู้ส่งข้อมูล
3.โปรโตคอล
4.เร้าเตอร์
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
เร้าเตอร์ (Router)เป็นอุปกรณ์สำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้สำหรับกำหนดเส้นทางบนเครือข่าย


7.ปัจจุบันได้แบ่งประเภทของเครือข่ายไว้กี่ประเภท
1. 3ประเภท
2. 4ประเภท
3. 5ประเภท
4. 6ประเภท
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
ประเภทของเครือข่ายพื้นฐานแบ่งเป็น 3 ประเภท
1.เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
2.เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
3.เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)


8.ระบบสื่อสารแบบจุดต่อจุดต้อง มีคุณสมบัติกี่ประการ
1. 1ประการ
2. 2ประการ
3. 3ประการ
4. 4ประการ
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 3 อธิบาย
การเชื่อมต่อด้วยวิธีการสื่อสารแบบจุดต่อจุด มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ
1.แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่
2.มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
3.มีความปลอดภัย


9.การ์ดเครือข่ายที่ใช้งานบนเครือข่ายแลนแบบอีเทอร์เน็ตเรียกอีกอย่างว่าอะไร
1.อีเทอร์เน็ตการ์ด (Ethernel Card)
2.อินเทอร์เฟชการ์ด (Interface Card)
3.การ์ดแลน (LAN Card)
4.การ์ดไวร์เลส (Wireless Card)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 1 อธิบาย
การ์ดเครือข่ายที่ใช้บนเครือข่ายและแบบอีเทอร์เน็ต มักเรียกว่า อีเทอร์เน็ตการ์ด (Ethernel Card)

10.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
1. บริดจ์ (Bridye)
2.สวิตซ์ (Switch)
3.เร้าเตอร์ (Router)
4.ฮับ (Hub)
เฉลย คำตอบคือ ข้อ 4 อธิบาย
ฮับ (Hub) จะทำหน้าที่ในการรับข้อมูลจากผู้ส่งเมื่อส่งไปยังปลายทางที่ต้องการ