วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

Etherner

ETHERNET
อัตราความเร็ว 10 Mbpsอัตราความเร็ว 100 Mbpsอัตราความเร็ว 1000 Mbpsอัตราความเร็ว 10 Gbpsบางทีจะเรียกว่า ......... ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ซึ่งเรียกว่า Fast Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3uซึ่งเรียกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3z/802.3abซึ่งเรืยกว่า Gigabit Ethernet system ตามมาตรฐาน IEEE 802.3aeซึ่งเทคโนโลยีความเร็วดังที่กล่าวมานี้ จะตั้งอยู่บนมาตรฐาน ของ Ethernet แบบเดียวกัน คือ สายที่สามารถใช้ได้ ก็จะเป็นพวกสาย โคแอคเชียล ( Coaxial Cable ) สายแบบ เกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable - UTP ) และสายแบบ ใยแก้วนำแสง ( Fiber Optic Cable ) ส่วนโทโปโลยี ที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของ BUS กับ Ring เสียเป็นส่วนใหญ่จากระบบเครือข่ายแบบ Ethernet ที่กล่าวมาทั้งหมด จะมีจุดสำคัญอยู่ที่ ได้นำเอาคุณสมบัติดังที่กล่าวมา มาใช้ มาเชื่อมต่อให้อยู่ในรูปแบบ ที่ต้องการใช้ตามมาตรฐานของ Ethernet ซึ่งจะมีมาตรฐานการเชื่อมต่ออยู่ด้วยกันหลายแบบ มาตรฐานในการเชื่อมต่อ อย่างเช่น 10base2 , 10base5 , 10baseT , 10baseFL , 100baseTX , 100baseT4 และ 100baseFX ซึ่งมาตรฐานรูปแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ และ ระยะทางที่สามารถส่งได้ อย่างเช่น 10base2 เป็นมาตรฐานที่ใช้ความเร็ว 10 Mbps ใช้สายแบบ Coaxial แบบบางหรือ เรียกว่า thin Ethernet รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) เป็นแบบ BUS ระยะทางในการรับส่งข้อมูลประมาณ 185-200 เมตร เป็นต้นETHERNETมาตรฐาน การเชื่อมต่ออัตราความเร็ว การรับส่งข้อมูลระยะความยาว ในการรับส่งข้อมูลTopology ที่ใช้สายที่ใช้ Cableชื่อเรียก10base210 Mbps185 - 200 เมตรBUSThin CoaxialThin Ethernet หรือ Cheapernet10base510 Mbps500 เมตรThick CoaxialThick Ethernet10baseT10 Mbps100 เมตรSTARTwisted Pair (UTP)10baseF10 Mbps2000 เมตรFiberOptic100baseT100 Mbps......... เมตรTwisted Pair (UTP)Fast Ethernet

Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ คำว่าอีเทอร์เน็ต (Ethernet) หมายถึง ความหมายที่มีอยู่ทั่วไปของอีเทอร์เน็ตซึ่งมีหลากหลายมาตรฐาน อีเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Xerox (โดยได้แนวคิดมาจากโครงการสื่อสารผ่านดาวเทียม Aloha ที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัย Hawaii) เพื่อเป็นมาตรฐานสำคัญของเครือข่าย LAN ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ระบบที่ใช้อีเทอร์เน็ตนั้นเหมาะกับงานที่ต้องการรับส่ง/ข้อมูลในอัตราความเร็วสูงเป็นช่วง ๆ เป็นครั้งคราว การรับ/ส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ตแต่ละครั้งเครื่องเป็นไปอย่างไม่มีวินัย นั่นคือเมื่อตรวจสอบแล้วว่าในขณะนั้นไม่มีเครื่องอื่น ๆ กำลังส่งข้อมูล แต่ละอย่างเครื่องจะแย่งกันส่งข้อมูลออกมา โดยเครื่องใดที่ส่งข้อมูลออกมาจะมีหน้าที่เฝ้าดูว่ามีเครื่องอื่นทำการส่งข้อมูลออกไปพร้อมกันด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดการส่งพร้อมกันแล้วจะก่อให้เกิดการชนกันของข้อมูล แต่ถ้าตรวจจับได้ว่ามีการขนกันขึ้นก็จะหยุดส่งแล้วรอคอยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะทำการส่งข้อมูลออกไปอีกครั้งหนึ่ง เวลาที่ใช้ในการรอคอยนั้นเป็นค่าที่สุ่มขึ้นมา ซึ่งมีความสั้นยาวต่างกันไป เทคนิคหลายอย่างเช่นที่นำมาใช้ในการรอคอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันซ้ำสอง หนึ่งในนั้นคือ คำนวณการเพิ่มระยะเวลารอคอยแบบ Exponential ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD) เนื่องจากการ์ดอีเทอร์เน็ตที่ใช้ในเครือข่ายแบบนี้สร้างมาจากหลายผู้ผลิต จึงมีองค์กรมาตรฐานขึ้นมากำหนดหมายเลขประจำให้ผู้ผลิตแต่ละราย เพื่อสร้างความมั่นใจให้การ์ดแต่ละใบจะไม่มีแอดเดรสที่ซ้ำกัน การส่งข้อมูลของอีเทอร์เน็ตนั้นจะเป็นไปในแบบเฟรมที่มีความยาวไม่แน่นอน แม้ว่าเฟรมข้อมูลของอีเทอร์เน็ตจะมีแอดเดรสต้นทางและปลาย แต่เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตเองกลับเป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายสัญญาณ (Broadcast) ซึ่งในเครื่องเครือข่ายเดียวกันจะได้รับเฟรมข้อมูลเดียวกันทุกเฟรม โดยเลือกเฉพาะเฟรมที่มีแอดเดรสปลายทางเป็นของตนเองเท่านั้น ส่วนเฟรมอื่น ๆ จะไม่สนใจ แต่ในบางกรณ๊ที่มีการทำงานในโหมด Promiscuous ซึ่งเป็นโหมดที่นำเฟรมข้อมูลทุกเฟรมไปใช้งานโดยส่งต่อไปยังซอฟแวร์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น กรณีของเครื่องที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal Analyzer) หรืออาจจะเป็นการกระทำของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีของพวกแฮกเกอร์ก็ได้ กรณีเช่นนี้จะเห็นถึงความปลอดภัยของมาตรฐานนี้

อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งคะ พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10 Base-T คะ โดยปกติสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ


แบบทดสอบ

1.ระบบเครือข่าย1000 BaseCXความเร็ว 1,000 Mbpsระยะทาง 25 เมตรโคแอ็กเชียล 150 โฮห์มสายสัญญาณ เป็น โครงสร้างการเชื่อมต่อแบบใด
ก. แบบbus
ข.แบบstar
ค.แบบring
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย ก เป็นการเชื่อมต่อแบบbus
แหล่งที่มา จากตาราง IEEE802.3z http://www.arpt.moe.go.th/ebook/datacom/unit4/DATA4_5.htm


2.มาตราฐาน IEEE802.3u 100 Base TXใช้สาย สัญญาณแบบใด
ก.UTP Category3หรือ4 โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่
ข.UTP Category3หรือ4โดยใช้คู่สายภายในทั้ง 4คู่
ค.UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่านั้น
ง. ใช้สายFiber oplie
เฉลย ค UTP Category 5โดยใช้สายภายในเพียง 2คู่เท่านั้น

แหล่งที่มา http://www.paktho.ac.th/computerptk/introcom/FastEthernet.htm

3.Ethernet ( IEEE802.3 )ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบใด
ก. CSMA/UTP
ข.RSMA
ค. CSMA
ง. CSMA/CD
เฉลย ง. CSMA/CD ใช้บน Topology แบบ BUS และแบบstar ใช้หลักการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CDที่มีความเร็ว 10Mbps หรือ 100 Mbps Fast Ethernet ( IEEE802.3u ) อาร์แวร์ที่ใช้จะต้องรองรับแบบใด แบบหนึ่ง หรือทั้งสองแบบ

จากเว็บ http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/Network2/6.htm


4.ดาต้าลิงค์เลเยอร์IEEE ได้แบ่งชั้นเชื่อมโยงข้อมูลหรือดาต้าลิงค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ออกเป็น กี่ เลเยอร์ย่อย
ก.1เลเยอร์ย่อย
ข.2เลเยอร์ย่อย
ค.5เลเยอร์ย่อย
ง.7เลเยอร์ย่อย
เฉลย ข.2 IEEE ได้แบ่งชั้นเชื่อมโยงข้อมูลหรือดาต้าลิงค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ออกเป็น 2 เลเยอร์ย่อย คือ LLC (Logical Link Control) และ MAC (Media Access Control) ทั้งสองเลเยอร์ย่อยนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของอีเธอร์เน็ต เนื่องจากเป็นเลเยอร์ที่สร้างเฟรมข้อมูลและที่อยู่ (Addressing) และชั้นที่ทำให้ข้อมูลส่งถึงปลายทางอย่างถูกต้อง


5.ข้อใดคือประโยชน์ของกิกะบิตอีเธอร์เนต
ก.ประสิทธิภาพในการใช้เครือข่ายเพิ่มมากขึ้นทำให้การส่งผ่านข้อมูลข้ามจากเซกเมนต์หนึ่งไปยังเซกเมนต์หนึ่งด้วยความเร็วสูงเพื่อตอบสนองการใช้งาน
ข.โอกาสในการขยายตัวของระบบเครือข่ายทำให้รองรับอนาคตได้อีกยาวไกล
ค.คุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาว
ง.ถูกทุข้อเฉลย

เฉลย ง.ถูกทุกข้อ


6.หลักการพื้นฐานที่สำคัญของ Gigabit Ethernet (IEEE802.3z) คืออะไร
ก.การปรับแก้ส่วนของ (Physycal Layer)
ข.การปรับแก้ส่วนของ (Network Layer)
ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)
ง.การปรับแก้ส่วน (data ling Layer)
เฉลย ค.การปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer)
โดยกลไกที่เรียกว่า Carrier Extension โดยกลไกตัวนี้จะทำการเพิ่มความยาวของเฟรมที่มีขนาดน้อยกว่า 512 ไบต์ โดยจะทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปยังส่วนท้ายของเฟรมเพื่อให้เฟรมข้อมูลนั้นมีขนาดเท่ากับ 512 ไบต์ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องมาจากว่าใน Ethernet แบบแรกที่ความเร็ว 10Mbps (IEEE802.3) นั้นได้มีการกำหนดออกแบบเอาไว้

จากเว็บ http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/gigabit/index.html

7. Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบใด
ก.แบบ lan
ข.แบบ man
ค.แบบ star
ง.แบบ wan
เฉลย ก.แบบ lan Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub



ไม่มีความคิดเห็น: